สถิติ
เปิดเมื่อ8/07/2013
อัพเดท2/10/2013
ผู้เข้าชม64567
แสดงหน้า77539
เมนู
บทความ
y
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31





 

          
           
           ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอราษีไศล  จังหวัดศรีสะเกษ  เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของคนในอำเภอราษีไศล  โดยได้มีการเรียนรู้  สืบทอดจากประสบการณ์จริง  ประเพณีบุญบั้งไฟถือว่าเป็นภูมิปัญญาด้านศาสนา  ประเพณี  พิธีกรรม  ความเชื่อและความสามัคคีของคนในท้องถิ่น  โดยมีความเชื่อว่า  ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญาแถน  จะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์  ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์  ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข
            ประชาชนในอำเภอราษีไศล  ได้สืบทอดประเพณี  วัฒนธรรม  ที่ยึดถือเป็นปฏิบัติเป็นประจำในระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
            จากเหตุผลดังกล่าวคณะผู้จัดทำเชื่อว่า  ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่ควรได้รับการเก็บรวบรวมข้อมูลของภูมิปัญญาท้องถิ่นและนำเผยแพร่  อีกทั้งควรให้เยาวชนศึกษาและทราบความเป็นมาของภูมิปัญญา  อันจะก่อให้เกิดความรัก  ความหวงแหนในประเพณีท้องถิ่นของตน  
พิธีกรรม
            พิธีกรรมของอำเภอราษีไศล  ประกอบด้วย
               1.   การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม
               2.   การประกวดขบวนรำเซิ้ง
               3.   การแข่งขันการจุดบั้งไฟขึ้นสูง
               4.   การแข่งขันจุดบั้งไฟแฟนซี  ( บั้งไฟแสง  สี  เสียง )
               5.   การประกวดกองเชียร์บั้งไฟ ในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
 
จุดเด่นของพิธีกรรม
            จุดเด่นของประเพณีบุญบั้งไฟ  คือ
   1.  วันแรก   เป็นวันแห่บั้งไฟสวยงาม  สามารถชมได้ที่ปะรำพิธีถนนใจกลางเมือง
   2.  วันที่สอง   เป็นการจุดบั้งไฟขึ้นสูงที่สวนสาธารณพญาแถน         
 
ช่วงเวลาในการจัดงาน
            ประเพณีบุญบั้งไฟ  จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกปี  จะจัดงานอยู่  2  วันคือในวันศุกร์และวันเสาร์ของเดือน
 
รูปแบบงานบุญบั้งไฟ
            1.   วันแรกเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ  10.00  น.  เป็นขบวนแห่บั้งไฟสวยงามไปตามถนนสายหลักใจกลางเมือง  โดยชาวบ้านจากคุ้มต่างๆจะนำบั้งไฟขึ้นขบวนรถที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเป็นลวดลายไทยงามวิจิตร  นำแห่ด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง  ซึ่งบนขบวนรถบางขบวนจะเป็นธิดาบั้งไฟและเทพบุตรเทพธิดาตัวน้อย ๆหรือการจำลองเรื่องราวจากนิยายพื้นบ้านปรัมปรา  เช่น  เรื่องท้าวผาแดงกับนางไอ่  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีขบวนประเภทเนื้อหาสาระและตลกขบขันต่างๆที่เปิดโอกาสให้ชาวเมืองที่ต่างอายุกันได้มีโอกาสเข้าร่วมงานและมาประกวดประชันกันอย่างสนุกสนาน
2.   วันที่สองเป็นการประกวดการจุดบั้งไฟ  มีการประกวดบั้งไฟขึ้นสูงและบั้งไฟแฟนซีต่าง ๆ ในขณะที่ชาวบ้านชาวคุ้มต่างๆก็จะยกขบวนออกร้องรำทำเพลงกันตลอดทั้งวันอย่างสนุกสนาน
 
 การเซิ้งบั้งไฟ
            การเซิ้งบั้งไฟ  เป็นการขับร้องเป็นกาพย์ เป็นกลอน  ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  พวกกลอง  แคน  ฉิ่ง  เป็นหมู่คณะเพื่อความสนุกสนาน
               1)  พวกเซิ้งธรรมะ  เป็นพวกที่เรียบร้อย  เป็นคณะและมีผู้กล่าวนำ  มีการฟ้อนแบบต่างๆตามที่หัวหน้าคณะจะสั่งกาพย์เซิ้งก็เป็นคติธรรมสอนใจไปด้วย
               2)  พวกเซิ้งกินเหล้า เป็นพวกคอสุรา  ไม่มีขบวนจับกลุ่มกันเล่นเซิ้งไม่เป็นระเบียบ  กาพย์ก็ตลกโปกฮามีทั้งคำสุภาพ  คำหยาบ(แต่ก็ไม่ถือว่าเสียหาย)
               3)  พวกเซิ้งขอเงิน  เป็นพวกที่ไม่อยู่ในอันดับคือ  ไม่มีบท  ไม่มีทำนองกลุ่มละ  4 - 5  คน        ตีกลอง  ตีปี๊บเคาะไม้แล้วแต่นึกออก  พวกหลังนี้เล่นเพื่อขอเงินเท่านั้นเองเพราะประเพณีนี้มีการเซิ้งขอสุรา  ขอขนม  ขอเงินซื้อสุราก็เลยตั้งคณะขึ้นขอบ้าง  ส่วนมากเป็นพวกวัยรุ่นและเด็กเล็ก
 
การแห่บั้งไฟ
            การแห่บั้งไฟจะกำหนดไว้  2  วันคือ วันสุกดิบและวันจุดบั้งไฟ  ในวันสุกดิบคณะเซิ้งบั้งไฟแต่ละคุ้ม  แต่ละคณะจะนำบั้งไฟของตนพร้อมด้วยขบวนแห่มายังหมู่บ้านที่แจ้งฎีกา  โดยจะแห่ไปรวมกันที่วัดและที่วัดจะมีการทำบุญและเลี้ยงแขก  ผู้ที่มีหน้าที่ต้อนรับจะปลูกกระท่อมเล็ก  เรียกว่า  'ผาม'  ขึ้นตามลานวัดเพื่อเป็นที่จุดบั้งไฟและเป็นที่รับแขกที่จะมาประชุมกัน  ทุกๆคนที่มาร่วมงานกันล้วนแต่งกายอย่างสวยงามทั้งหญิงและชาย  โดยเฉพาะสาวๆถ้าสาวบ้านไหนไม่ไปเท่ากับผู้เฒ่าผู้แก่บ้านนั้นไม่ยินดีร่วมทำบุญและไม่ร่วมมือ  ถ้าพ่อแม่ขัดข้องโดยไม่มีเหตุจำเป็นจะเป็นบาป เมื่อตายแล้วจะต้องตกนรกแสนกัปแสนกัลป์และเป็นเหตุให้บ้านเมืองเดือดร้อน  ฟ้าฝนไม่อุดมสมบูรณ์  ทำไร่ทำนาไม่ได้ผล ปัจจุบันอำเภอราษีไศลได้จัดให้บั้งไฟคณะต่างๆไปทำพิธีบวงสรวงคารวะเจ้าปู่เจ้าพ่อหลักเมืองแล้วแต่ละคุ้มจะรำ  เซิ้งเพื่อขอบริจาคไปตามสถานที่ต่างๆได้
            วันแห่บั้งไฟตอนเช้ามีการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ศาลาการเปรียญและรับผ้าป่า จากนั้นนำขบวนแห่ไปคารวะมเหศักดิ์หลักเมือง  เจ้าพ่อปู่ตาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านแล้วขบวนแห่บั้งไฟทุกคณะไปตั้งแถวตามถนนแล้วแห่ไปตามเส้นทางที่คณะกรรมการจัดการกำหนดไว้ในขบวนแห่ บั้งไฟที่ตกแต่งอย่างสวยงาม  ขบวนฟ้อนรำที่เรียกว่า  เซิ้งบั้งไฟ  จะนำขบวนไปด้วยโดยบั้งไฟแต่ละขบวนจะประกอบด้วย  ขบวนเซิ้งนำหน้าขบวนแสดงความเป็นอยู่ (อาชี) ตลกขบขัน
            ในวันจุดบั้งไฟ  ตอนเช้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ  ตักบาตรถวายภัตตาหาร  เลี้ยงดูญาติโยมแล้วแห่บั้งไฟไปรอบพระอุโบสถเพื่อถวายแด่เทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์  แล้วนำบั้งไฟออกไปที่จัดไว้สำหรับ จุดบั้งไฟ  การจุดบั้งไฟจะจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อนเพื่อเป็นการเสี่ยงทายว่า  พืชผลทางการเกษตรประจำปี จะดีเลวหรือไม่  คือ  
    1)   ถ้าบั้งไฟที่เสี่ยงทายจุดไม่ขึ้น (ชุติดค้าง)  ก็ทายว่าน้ำประจำปีจะมากและทำให้ไร่ที่ลุ่ม  เสียหาย  
    2)   ถ้าจุดแล้วขึ้นไประเบิดแตกกลางอากาศ  ทายว่าแผ่นดินจะเกิดความแห้งแล้ง
    3)   ถ้าบั้งไฟจุดขึ้นสวยงามและสูง  ชาวบ้านจะเปล่งเสียงไชโยตลอดทั้งบริเวณลาน เพราะมีความเชื่อว่าข้าวกล้าและพืชไร่ในท้องทุ่งจะได้ผลบริบูรณ์
            หลังจากลำเสี่ยงทายแล้วก็จะทำการจุดบั้งไฟเสียง  หลังจากนั้นก็จะจุดบั้งไฟที่นำมาแข่งขัน   บั้งไฟหมื่นและบั้งไฟแสน  การจุดชนวนใช้เวลาไม่กี่นาทีบั้งไฟก็จะพุ่งไปในอากาศ  การขึ้นของบั้งไฟจะมีเสียงดังวี้ดคล้ายคนเป่านกหวีดหรือเป่ากระบอก  ส่วนบั้งไฟแข่งขันจะจุดหลังบั้งไฟเสียงการจุดบั้งไฟแข่งขัน  ถ้าบั้งไฟของคณะใดขึ้นสูงก็เป็นผู้ชนะ  ถ้าขึ้นสูงมากก็จะโห่ร้องยินดี  กระโดดโลดเต้นกันอย่างเต็มที่และจะแบกช่างทำบั้งไฟเดินไปมา  แต่ถ้าบั้งไฟของคณะใดไม่ขึ้นหรือแตกเสียก่อนช่างบั้งไฟจะถูกโยนลงโคลนตมไม่ว่าบั้งไฟจะขึ้นหรือไม่ขึ้นก็ตามก็จะจับโยนทั้งนั้น  การจุดบั้งไฟช่างทำบั้งไฟจะเป็นคนจุดเองหรือบางทีคนในคณะบั้งไฟของตนที่มีความชำนาญจะเป็นคนจุด  กรรมการจะจับเวลาว่าใครขึ้นสูงกว่ากัน  การจุดบั้งไฟนี้น่ากลัวมาก  บางบั้งก็แตก บางบั้งก็ขึ้นสูง  ในวันจุดบั้งไฟนี้ประชาชนพากันมามุงดูอย่างคับคั่งนั่งอยู่ตามร่มไม้เป็นกลุ่มๆ  หลังจากจุดเสร็จแล้วจะมอบรางวัลให้กับบั้งไฟที่ขึ้นสูงตามลำดับที่  1 – 3  จากนั้นคณะเซิ้งพากันเซิ้งกลับไปบ้านของตนหรือบ้านช่างทำบั้งไฟ
            การนำรอยไฟ (การนำฮอยไฟ)  หมายถึง  การเล่นสนุกหลังจากจุดบั้งไฟแล้วมีการตามช่างและชาวบ้านที่เป็นเจ้าบ้านไปดื่มเหล้าและเล่นสนุกสนานกันอีก  การตามรอยไฟจะเป็นสู่ขวัญให้ช่างทำบั้งไฟด้วย  คือ  เริ่มแรกอาราธนาสู่ขวัญเพื่อทำขวัญช่าง  เมื่ออาราธนาเสร็จแล้วหมอก็เริ่มการสู่ขวัญบ้านที่ทำการสู่ขวัญเป็นบ้านช่างทำบั้งไฟ  ทุกคนในบ้านจะออกมานั่งรับการสู่ขวัญ  หมอสู่ขวัญนำคำสู่ขวัญที่ดีๆมาสู่  เมื่อเสร็จแล้วมีการผูกแขนเพื่อเป็นมงคลหลังจากสู่ขวัญและผูกแขนช่างทำบั้งไฟแล้วก็รับประทานอาหารกันอย่างสนุกสนาน  การนำรอยไฟปฏิบัติกันทั่วไป  ซึ่งปัจจุบันปฏิบัติกันน้อยลง  และจะมีการเซิ้งตามรอยไฟคือ  เป็นการเซิ้งเพื่อเยี่ยมเยียนตามบ้านเรือนชาวบ้านจนถึงค่ำจึงเลิกรากันไป  โดยเนื้อความของกาพย์เซิ้งจะเป็นการขอเหล้าสาโทดื่มฉลองและจะมีการกล่าวขอบคุณและให้ศีลให้พร
            ประเพณีบุญบั้งไฟกับชีวิตของชาวอีสานจึงมีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น  ชาวอีสานจะจัดทำบุญบั้งไฟกันอย่างเอิกเกริก  ยิ่งปีใดฝนแล้งจะต้องทำเป็นกรณีพิเศษ  นอกจากนี้ยังถือเป็นการทำบุญประกอบคุณงามความดีตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณกาล  เช่น  มีงานบวชนาค  งานสรงน้ำพระพุทธรูป  งานถือน้ำพิพัฒน์ต่อหน้าพระพุทธรูป  กล่าวได้ว่าชาวอีสานใช้บั้งไฟเป็นสื่อในการให้ประชาชนทำบุญ  เป็นสื่อในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพญาแถน  บั้งไฟจึงมีความเกี่ยวพันกับชีวิตของคนอีสานในฐานะเป็นเครื่องมือของพิธีขอฝนเพื่อให้ตกต้องตามฤดูกาล  นอกจากนี้ประเพณีบุญบั้งไฟยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านจากหมู่บ้านและตำบลต่างๆได้มาช่วยกันทำบุญบั้งไฟมาร่วมกันสนุกสนานเป็นการรวมพลังประชาชนให้มาทำกิจกรรมร่วมกัน  ฝึกให้รักและสามัคคีกันได้เป็นอย่างดี
 
การแข่งขันการจุดบั้งไฟ
            ในการแข่งขันจุดบั้งไฟจะมีการจุดบั้งไฟเสี่ยงทายก่อนแล้วค่อยจุดบั้งไฟที่จะทำการแข่งขัน  การจุดบั้งไฟจะจุดขึ้นทีละบั้ง  แล้วกรรมการดูการจุดของแต่ละบั้งไฟ
 
หลักเกณฑ์ในการตัดสิน
            เกณฑ์การตัดสิน  จะดูที่ความสูงของบั้งไฟที่ยิงขึ้น  ถ้าบั้งไฟของหมู่บ้านใดขึ้นสูงที่สุดจะเป็นผู้ชนะ  โดยการตัดสินจะวัดดูจากการขึ้นของบั้งไฟที่สูงเหนือเมฆและลงมาจนหัวบั้งไฟพ้นจากก้อนเมฆแต่ถ้าบั้งไฟของหมู่บ้านใดยิงไม่ขึ้นหรือยิงขึ้นแต่ไม่สูงจะไม่ได้รางวัลและถูกลงโทษ  ด้วยการนำคนทำบั้งไฟโยนลงโคลน