หน่วยที่ 4
ขั้นตอนการทำบั้งไฟ

องค์ประกอบของบั้งไฟ
บั้งไฟมีรูปทรงคล้ายเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดหนึ่ง เรียกว่า โหวดบั้งไฟแบบดั้งเดิมใช้ลำไม้ไผ่มามัดเป็นลำดับบั้งไฟ ใช้มีดตัดส่วนบั้งไฟให้หัวเป็นปากฉลาม เมื่อจุดบั้งไฟให้พุ่งขึ้นลงจากฟ้าปากฉลามปะทะกับแรงลม ทำให้เกิดเสียงดังโหยหวนคล้ายเสียงโหวดจากรูปทรงบั้งไฟโหวดนี้เองทำให้ช่างทำบั้งไฟ ถือเป็นโครงสร้างของบั้งไฟต่อมา
บั้งไฟแต่ละลำประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ เลา หางและลูกบั้งไฟ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. เลาบั้งไฟ
เลาบั้งไฟ คือ ส่วนประกอบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5 – 7 เมตรทำด้วยลำไม้ไผ่แล้วใช้ริ้วไม้ไผ่(ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่นและใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า 'หมื้อ' อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟ ไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัยต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลาบั้งไฟแทนไม้ไผ่ ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติกเป็นต้น เรียกว่า เลาเหล็ก ซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
2. หางบั้งไฟ
หางบั้งไฟ ถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ ของเรือคือสร้างความสมดุลให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง บั้งไฟแบบเดิมนั้นทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกัน หางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลมทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8 – 12 เมตรทำหน้าที่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30 – 40 องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7 – 8 เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ
3. ลูกบั้งไฟ
ลูกบั้งไฟ เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8 – 15 ลูกขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษ
วิธีการทำบั้งไฟ
ส่วนประกอบ ดังนี้
1. ดินลำตัว เอาดินปะสิวไปบดแต่ไม่ให้ละเอียดใช้กับตะแกรงเบอร์ 9 ประมาณ 8 กิโลกรัม เอาถ่านไปบดให้ละเอียด ละเอียดเท่าไรยิ่งดีตามอัตราส่วนดินปะสิว 1 กิโลกรัมใช้ถ่าน 2.3 ขีดแต่ถ้าใช้ดินปะสิว 8 กิโลกรัมก็ให้คำนวณ แล้วเอาดินปะสิวกับถ่านที่เตรียมไว้มาผสมกันใส่น้ำเปล่าพอชุ่มๆ ผสมให้เข้ากันที่สุด
2. ดินคอ ให้เอาดินลำตัวที่ผสมไว้มาให้พอดีผสมกับดินเหยียบน้ำ 1:1 ดินเหยียบน้ำคือดินที่อัดเข้าบั้งแล้ว ผ่าหรือเจาะออกจากรูนำมาผสมให้เข้ากัน
3. การอัด ต้องอัดให้เกิน 300 ขึ้นไปถึง 400 ให้ดูที่เข็มไฮดรอลิค ลำดับแรกใส่ดินหัวก่อนแล้วอัดต่อไปเป็นดินคอใช้แค่ 4 สัดสัดละ 2 ขีดมิลลิเมตร พอหมดคอแล้วอัดลำตัวยาวตลอดจนเต็ม
4. การเจาะรู อัดแล้วทิ้งไว้ 1 คืนแล้วเจาะใช้ 4 เหล็กคอยาว 20 เซนติเมตร ไฟกิน 25 เซนติเมตร ที่เหลือแบ่งครึ่ง
5. การทำหาง ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เซนติเมตรยาว ขอเปลี่ยนจาก 300 เป็น 290 เซนติเมตรหนัก 8 ขีดห้ามเกิน 8 ขีดครึ่งวัดกึ่งกลางเลื่อนหน้า 27 เซนติเมตร ถ่วงเสมอแล้วมัดเข้าบั้ง 37 เซนติเมตร
ขนาดเหล็ก
1. ยอด ขนาด 4 มิลลิเมตร
2. ไฟกิน ขนาด 14 มิลลิเมตร
3. ตูด ขนาด 20 มิลลิเมตร
4. เฟื่อง ขนาด 25 มิลลิเมตร
การทำบั้งไฟ
1. การทำดินปืน โดยนำถ่านและดินประสิวมาผสมให้เข้ากันเติมน้ำลงไปเล็กน้อย
2. นำดินปืนที่ได้อัดลงในท่อที่เป็นตัวบั้งไฟให้แน่พอสมควร บั้งไฟธรรมดาจะอัดดินปืนลงไป 34 ชัด สำหรับบั้งไฟแสนและบั้งไฟล้าน ส่วนบั้งไฟหมื่นจะใช้ดินปืน 54 ชัด ( 1 ชัด = 3 ขีด)
3. จากนั้นนำหางบั้งไฟไปต้มน้ำจนเดือดเพื่อทำให้หางเบาไม่ถ่วงตัวบั้งไฟเวลาจุด
4. นำตัวบั้งไฟและส่วนหางมาผูกติดกันจากนั้นตกแต่งให้สวยงามเป็นอันเสร็จขั้นตอน การทำ
|